คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

ซื้ออสังหาอย่าให้โครงการเอาเปรียบ มีปัญหาฟ้องคดีผู้บริโภคได้เอง ไม่ต้องใช้ทนาย

ซื้ออสังหาอย่าให้โครงการเอาเปรียบ มีปัญหาฟ้องคดีผู้บริโภคได้เอง ไม่ต้องใช้ทนาย

ปกติแล้วการซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างบ้าน คอนโด ที่เป็นโครงการจัดสรร มักจะเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ๋ของชีวิต เนื่องจากวงเงินที่ใช้เป็นจำนวนมหาศาล ผู้ซื้อเลยค้นหาข้อมูล ทำการบ้านมาดี เลือกโครงการใหญ่ๆ ชื่อเสียงดี มั่นใจว่าจะได้ทุกอย่างตามที่ควรจะเป็น

แต่มีบางครั้งที่โดนเจ้าของโครงการเอารัดเอาเปรียบ สร้างไม่แล้วเสร็จง่ายๆ จะฟ้องเอาเงินคือก็กลัวว่าจะยุ่งยากเสียเวลา หรือสร้างใกล้เสร็จก็รีบบังคับให้เราโอนแล้วสัญญาว่าจะแก้ไขโน่นนี่นั่นให้ภายหลัง พอโอนแล้วก็หายไปเลย ตามงานก็ยากมาก

หรือในกรณีอื่นๆ ที่เจ้าของโครงการมักเอาเปรียบอาศํยความไม่รู้ของผู้บริโภค เช่นการโอนเปลี่ยนสัญญา (หรือพูดง่ายๆคือขายดาวน์) แล้วมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพงๆจากเจ้าของเดิม ซึ่งผิดกฏหมายไม่สามารถกระทำได้ เราจะเรียกร้องเงินคืนอย่างไร

รวมไปถึงกรณีอื่นๆที่โดนเจ้าของโครงการเอาเปรียบ จะไปร้อง สคบ. ก็เหมือนจะไม่ค่อยได้รับความรวดเร็วเท่าไหร่ รอเป็นปีๆ คุยกันไปมา บอกจะชดใช้บางทีก็หายกันไปเลย

วันนี้เรามีเรื่องเล่าจากผู้บริโภครายหนึ่งซึ่ง เห็นความไม่ถูกต้องตรงนี้และไปฟ้องศาลคดีผู้บริโภคมาเป็นอุทาหรณ์ให้เราได้ตระหนักถึงสิทธิ์ตามข้อกฏหมาย ที่ออกแบบมาให้ผู้บริโภคที่ไม่มีอำนาจทางการเงินที่จะไปจ้างทนายความเหมือนบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย สามารถฟ้องต่อศาลเองด้วยวาจาก็ได้ ค่าใช้จ่ายในทางศาลก็แทบจะไม่มี เอาไว้เป็นตัวอย่างการเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองกันนะครับ

ผู้บริโภครายนี้ โดนเรียกเก็บค่าเปลี่ยนสัญญาซื้อคอนโดไปเป็นจำนวนเงิน 60,000 (หกหมื่นบาท) ซึ่งเป็นเรื่องเมื่อประมาณ 2 ปีก่อนหน้า แต่ก็ยังเก็บหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินเอาไว้

ต่อมาได้ทราบข้อมูลจากการอ่านบทความตามสื่อออนไลน์ทั่วไป พบว่าค่าเปลี่ยนสัญญาคอนโด ผู้ประกอบการห้ามเก็บ ผิดกฏหมาย แล้วสัญญาจะซื้อจะขายคอนโด กฏหมายบังคับผู้ประกอบการให้ทำตามแบบฟอร์มป้องกันข้อความที่เอาเปรียบผู้บริโภค ถ้าทำผิดจากแบบฟอร์มจะมีโทษทางอาญาปรับ 1 แสนบาท

ผู้บริโภครายนี้เลยเขียนจดหมายแจ้งไปยังบริษัทเพื่อขอเงินคืน แต่ก็เรื่องเงียบหายไป เลยตัดสินใจฟ้องคดีผู้บริโภคซะเลย เพราะจากการค้นหาข้อมูลแล้วพบว่า คดีผู้บริโภคจะมีวิธีการพิจารณาที่แตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไป นั่นคือ

– ประชาชนสามารถฟ้องร้องต่อศาลโดยตรงได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตำรวจ อัยการ หรือ สคบ
– การฟ้องคดีแพ่งทั่วไปจะต้องมีการพิมพ์คำฟ้อง บัญชีพยานหลักฐาน คนที่ทำเป็นคงต้องเป็นนักกฏหมาย ซึ่งสำหรับคดีผู้บริโภค ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องทำเอง แค่เอาหลักฐานมาที่ศาล เล่าให้เจ้าพนักงานศาลฟัง และเจ้าพนักงานของศาลจะพิมพ์คำฟ้องและเอกสารประกอบให้ พร้อมกับแนะนำทุกอย่างที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค
– ไม่เสียค่าธรรมเนียมเลยสักบาท
– นัดวันไกล่เกลี่ย / พิจารณาคดีรวดเร็ว ห่างจากวันฟ้องประมาณเดือนสองเดือน ฟ้องวันนี้ วันรุ่งขึ้นส่งหมายให้จำเลยทันที
– มอบภาระการพิสูจน์ (ว่าไม่ผิด) ให้กับผู้ประกอบการ ต่างจากคดีแพ่งที่ภาระการพิสูจน์ว่าผู้ประกอบการผิดอยู่ที่ผู้ฟ้อง เนื่องจากข้อมูลต่างๆนั้นผู้ประกอบการมีการจัดเก็บเป็นระบบ และผู้บริโภคเองไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อยู่แล้ว

เดินทางไปศาลพกแค่ใบเสร็จ กับสัญญา

ผู้บริโภครายนี้ เดินทางไปศาลด้วยใบเสร็จที่เก็บเอาไว้ 2 ปีกว่าแล้ว และมีข้อความในสัญญาที่ขัดแยังกับข้อกฏหมาย แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ศาลว่าขอฟ้องคดีผู้บริโภค ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดพิมพ์คำฟ้อง

ที่สำคัญที่ท้ายคำฟ้อง ได้มีการร้องขอต่อศาลให้คืนเงินที่จ่ายไป และให้จำเลยชดเขยโจทก์เชิงลงโทษด้วยค่าปรับเป็นสองเท่าด้วย ตาม พรบ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มาตรา 42

ผลการพิจารณาคดี

วันนัดไกล่เกลี่ย จำเลยไม่มาปรากฏตัวที่ศาล

วันนัดพิจารณาคดี ฝ่ายผู้ประกอบการส่งตัวแทนมา ศาลถามว่าทางจำเลยกับโจทก์ตกลงกันได้หรือไม่ ทางจำเลยตอบกลับว่าจะคืนเงินให้เพียง 60,000 บาทเท่านั้น ศาลเลยตำหนิจำเลยถึงประเด็นทำผิดกฏหมายตรงนี้

นั่นเพราะประเด็นนี้ถือว่าจำเลยผิดเต็มๆ ยังไงก็ต้องคืนเงินอยู่แล้ว ส่วนประเด็นการให้ชดใช้เชิงลงโทษ ศาลถามโจทก์ซึ่งโจทก์ตอบไปว่าแล้วดุลพินิจของศาล

สุดท้ายศาลเลยเสนอตัวเลขมาว่า ถ้า 120,000 บาท ทางโจทก์จะตกลงกับเขาได้ไหม โจทก์บอกว่าได้ครับ ส่วนฝ่ายจำเลย ก็ขอโทรไปปรึกษาเจ้านายก่อน ซึ่งเค้าก็พยายามจะจ่ายให้น้อยที่สุดนั่นแหละ สุดท้ายจบที่ตกลงกันได้ว่า ฝ่ายจำเลยบริษัทผู้ประกอบการ จ่ายเงิน คืน 60,000 บาทให้โจทก์บวกกับค่าเสียหายเป็นการลงโทษอีก60,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาท

เมื่อตกลงกันได้ ก็มีการทำสัญญายอมความ ซึ่งมีข้อความว่า จะชดใช้เท่าไร ภายในเวลากี่วัน ถ้าถึงกำหนดยังไม่ชำระ ยินยอมให้บังคับคดี

ถึงตอนนี้ตัวแทนบริษัทก็จะใส่ข้อความประมาณว่า คู่สัญญาจะเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ โจทก์ก็เลยถามว่าต้องมีข้อความนี้ด้วยหรือ มีอะไรที่เป็นความเท็จหรือความลับอะไรที่ต้องปกปิด ตัวแทนบริษัทบอกว่าเป็นข้อความที่ทั่วไปเค้าใส่กันอยู่แล้ว

เจ้าหน้าที่ศาลหน้าบัลลังค์ได้ยิน จึงบอกว่า ปกติข้อความแบบนี้ไม่มี ตัวแทนบริษัทจึงขอตัวออกไปโทรหาเจ้านาย เจ้าหน้าที่ศาลหน้าบัลลังค์จึงบอกว่า ทีตอนทำผิดทำไมไม่คิด ทีตอนนี้จะมาขอให้ปกปิดเป็นความลับ

บทสรุปก็คือ หากเรารู้ว่าได้รับความไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบการ ก็ให้ทำหนังสือเรียกร้องสิทธิ์กลับไปยังผู้ประกอบการก่อน ถ้าไม่ได้รับการตอบรับก็ให้นำเอกสารหลักฐานต่างๆไปยังศาลได้เลย ไม่จำเป็นต้องจ้างทนาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ถ้าข้อมูลชัดเจนเรื่องราวจะจบลงโดยเร็ว

ขอบคุณเจ้าของข้อมูลที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่นะครับ

Leave a comment