คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

ตัวบ่งชี้ที่ว่าโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2016

ตัวบ่งชี้ที่ว่าโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2016

เว็บข้อมูลนักลงทุนหลายเว็บต่างออกมาประโคมข่าวถึงการคาดการณ์ที่ว่าในปี 2016 ภาวะเศรษฐกิจของโลกกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย วันนี้จึงถือโอกาสนำมานำเสนอให้อ่านกันดูนะครับ โดยเป็นบทความเมื่อช่วงต้นเดือน พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา โดยจะนำเสนอข้อมูลในประเด็นของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ก่อนจะเชื่อมโยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจโลก

ในระยะไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา สภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังลงไปสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันว่าจะรุนแรงและดำดิ่งมากกว่าครั้งใดๆนับตั้งแต่ยุคสมัยปี 1920 และปี 1930 หรือประมาณเกือบ 100 ปีมาแล้ว

นับตั้งแต่ตลาดหุ้นเกิดภาวะดำดิ่งเมื่อปี 2008 การฟื้นตัวนั้นเป็นไปอย่างช้าๆและใช้เวลานาน และมีการดีดขึ้นเป็นช่วงๆ ซึ่งยังพอจะถือได้ว่าภาวะเศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัวได้ โดยตัวเลขดัชนี S&P 500 ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 92% ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และอัตราการว่างงานในอเมริกาลดลงจากประมาณ 10% ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยสุดๆ มาอยู่ที่ประมาณ 5% ในปัจจุบัน

แต่ตัวเลขการเติบโตเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากความช่วยเหลือของรัฐบาล การผ่อนคลายนโยบายทางด้านการเงิน และการเพิ่มเงินทุนเข้าไปในระบบในรูปแบบของ Quantitative Easing (QE) ปัญหาก็คือการเจริญเติบโตนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างไม่มีวันจบได้ มันเกิดขึ้นเพียงเพราะต้นทุนทางการเงินต่ำและการสนับสนุนของธนาคารกลาง

ท้ายที่สุดแล้วปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจก็จะต้องตามทันกับการกระตุ้นทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างแท้จริง เนื่องจากว่าสภาพเศรษฐกิจของจริงนั้นยังตามหลังอยู่หลายขุม มันจึงเป็นไปได้ที่เรากำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ข้อมูลต่อไปนี้อาจจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าทำไมถึงจะเกิดเช่นนั้น

2016-recession

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุโรปกำลังย่ำแย่

ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศต่างๆในยุโรปหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในย่านนี้ยังเป็นเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก อีกทั้งยุโรปยังถือว่าเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกอีกด้วย ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ก็ได้พยายามใช้มาตรการ QE อย่างหนักหน่วงเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประเทศในกลุ่ม PIIGS (Portugal Ireland Italy Greece Spain) ก็ได้ได้รับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากทาง EU และ IMF พร้อมข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดต่อประชากรของประเทศเหล่านั้น

ซึ่งนอกจากมาตรการเข้มงวดจะถูกต่อต้านอย่างหนักแล้ว มาตรการดังกล่าวอาจจะยังยับยั้งการเจริญเติบโตด้วยการลดอุปสงค์และทำให้ภาวะหนี้สินในประเทศเหล่านี้มีค่าสูงอย่างต่อเนื่อง

ประเทศที่ประสบปัญหามากที่สุดก็คือกรีซ ซึ่งล่าสุดก็ได้ผิดนัดชำระหนี้กับ IMF และประชาชนชาวกรีซก็ได้เลือกรัฐบาลที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่ได้มีการทำประชามติและผลคือไม่ขอรับความช่วยเหลือจาก EU และเรียกร้องขอไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่เข้มงวดต่อไป

แม้ว่าประเทศกรีซอาจจะถูกมองว่าเป็นประเทศเล็กๆในกลุ่มยูโรโซนก็ตาม ที่เป็นที่เกรงกันว่าหากกรีซถอนตัวจากสกุลเงินยูโร (Grexit) ประเทศในกลุ่ม PIIGS ประเทศอื่นๆก็อาจจะทำตามและอาจจะขยายวงกว้างขึ้นและอาจจะนำไปสู่การสิ้นสุดของเงินยูโร เมื่อเงินยูโรด้อยค่าลงก็จะส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และน่าจะนำมาสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงได้

ฟองสบู่จีนเริ่มจะแตกแล้ว
เศรษฐกิจจีนนั้นเติบโตในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา GDP ของจีนนั้นถือเป็นอันดับสองของโลกรองมาจากแค่อเมริกาเท่านั้น และเป็นที่คาดกันว่าอีกไม่นาน GDP ของจีนก็น่าจะแซงหน้าอเมริกาไปได้

อย่างไรก็ตามรัฐบาลจีนได้มีมาตรการควบคุมแหล่งทุนเอาไว้เพื่อไม่ให้เงินทองรั่วไหลออกไปจากประเทศตัวเอง ดังนั้นเมื่อกลุ่มชนชั้นกลางของจีนมีมากขึ้น พวกเขาจึงมีตัวเลือกน้อยในการที่จะเลือกลงทุนจากความร่ำรวยที่ได้มา ผลก็คือตลาดหุ้นและธุรกิจอสังหาจึงมีราคาพุ่งสูงมาก เนื่องจากเป็นเพียงสองอย่างที่คนจีนสามารถลงทุนได้ จึงเป็นไปได้ว่าภาวะฟองสบู่กำลังก่อตัวขึ้นมา

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาค่า Price per Earning (P/E) ของตลาดหลักทรัพย์ของจีนนั้นสูงกว่าประเทศใดๆในโลก โดยในกลุ่มเทคโนโลยีแสดงให้เห็นถึงภาวะฟองสบู่ด้วยค่าค่าเป็น 220 เท่าของค่าเฉลี่ย หรือหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ตลาดเทคโนโลยีอย่าง NASDAQ นั้นจะมีค่าเฉลี่ยของ P/E อยู่ที่ 150 เท่าของค่าเฉลี่ยก่อนที่จะเกิดภาวะฟองสบู่แตก (Dot-com bubble burst)

ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ของจีนเจอภาวะปรับฐาน โดยรัฐบาลจีนได้เข้ามาใส่มาตราการห้ามขายแบบช้อร์ทเซล (Short Sell – ยืมหุ้นมาขายหุ้นช่วงขาลงแล้วซื้อคืนที่ราคาต่ำกว่า)

ขณะเดียวกันภาวะบูมทางด้านอสังหาริมทรัพย์ส่งผลให้มีการก่อสร้างเกินความต้องการเป็นจำนวนมาก เกิดภาวะเมืองผี ด้วยเมืองทั้งเมืองไม่มีผู้อาศัยอยู่ เมื่อตลาดมองเห็นภาวะสินค้ามากกว่าความต้องการ ราคาอาจจะดิ่งลงอย่างถล่มถลายในตลาดที่อยู่อาศัยของจีน

และหากเศรษฐกิจของจีนอยู่ในภาวะถดถอย ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะฉุดเศรษฐกิจของโลกไปด้วย

ตัวเลขการว่างงานอาจจะไม่ได้ดูสวยอย่างที่เห็น
อัตราการว่างงานของอเมริกาลดลงมาอยู่ที่ 5.3% ในเดือนมิถุนายน 2015 ซึ่งถือเป็นอ้ตราต่ำสุดนับตั้งแต่ภาวะปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้น แต่ตัวเลขเหล่านี้ไม่นับรวมแรงงานที่ทำงานชั่วคราวหรือพาร์ทไทม์เข้าไปด้วย ซึ่งหากรวมตัวเลขกลุ่มคนเหล่านี้เข้าไปด้วย ตัวเลขการว่างงานก็จะกระโดดไปที่ 10.5%

นอกจากนี้แล้วในกลุ่มที่มีงานทำเอง รายได้ที่แท้จริงนั้นยังคงที่หรืออาจจะลดลงด้วยซ้ำสำหรับคนอเมริกาเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปี 2008 รายได้ที่แท้จริงคือการนำเอาผลของเงินเฟ้อมาคิดคำนวนด้วย ตัวเลขค่าจ้างที่คงที่นั้นอาจจะสื่อถึงภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ไม่ได้แสดงถึงการเจริญเติบโตที่แท้จริงเลย
down-turn

ตัวเลขภาวะเศรษฐกิจมีรูปแบบคล้ายกับช่วงก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งที่แล้ว

นอกจากเรื่องราวภาวะเศรษฐกิจที่กล่าวถึงด้านบนแล้ว ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนก็เริ่มจะแสดงให้เห็นถึงรูปแบบที่คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้าการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงครั้งที่แล้วอีกด้วย นั่นคือ
– ยอดขายปลีกลดลงมากสุดนับจากก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งที่แล้ว ยอดค้าส่งก็เช่นเดียวกัน
– คำสั่งซื้อจากโรงงานในอเมริกาลดลงต่ำสุดน้บจากช่วงการล้มของ Lehman Brothers
– อัตราเติบโตของ GDP ที่แท้จริงของอเมริกาเริ่มลดลง เริ่มติดลบเล็กน้อยในไตรมาสที่แล้ว
– การเติบโตด้านการส่งออกของอเมริกาเริ่มอ่อนแอลง
– ผลกำไรของบริษัทขนาดใหญ่เริ่มลดลง

บทสรุป
เราอาจจะกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุ่นแรงอีกครั้ง รูปบบของข้อมูลทางเศรษฐกิจกำลังแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ และปัญหายังคงแก้ไม่ตกในยุโรป หรืออาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ในจีน อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้ภาวะเศรษฐกิจโลกล่มสลาออีกครั้ง

ไม่เหมือนช่วงปี 2008 (พ.ศ. 2551) ที่ธนาคารกลางสหรัฐสามารถจะลดอัตราดอกเบี้ยให้ได้ แต่ตอนนี้ธนาคารกลางหมดหนทางที่จะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินที่จะป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้ว ทั้งนี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยถือเป็นเรื่องปกติของรอบของเศรษฐกิจมหาภาคที่โลกต้องประสบพบเจอ และเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งที่แล้วเกิดขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว สัญญาณต่างๆที่เห็นมีแนวโน้มว่าครั้งต่อไปน่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้

ที่มา http://www.investopedia.com [แปล]

Leave a comment