คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

บัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอย่างไร

บัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอย่างไร

ความสะดวกที่คุณได้รับจากการใช้จ่ายเงินโดยไม่ต้องพกเงินสด หรือซื้อของล่วงหน้าก็ใช่ว่าจะได้มาฟรีๆ ท่านต้องจ่ายทั้งค่าธรรมเนียมรายปี และดอกเบี้ยหากคุณใช้วิธีผ่อนจ่ายหนี้ของคุณ

ต้องจ่ายอะไรบ้าง

ความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อของด้วยบัตรเครดิตหลายท่านก็คงได้สัมผัสแล้ว คุณซื้อของผ่านบัตรแทนที่จะเป็นเงินสด จากนั้นในแต่ละเดือนธนาคารผู้ออกบัตรก็จะส่งใบแจ้งหนี้มาให้คุณ แล้วคุณก็นำเงินไปจ่ายให้กับบริษัทเจ้าของบัตรอีกทอดหนึ่ง แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้างสำหรับความสะดวกที่ได้รับ

ค่าธรรมเนียมรายปี

ภายหลังที่ท่านได้กรอกใบสมัครพร้อมเอกสารต่างๆแล้ว ประมาณ 1 เดือนถัดมาหากธนาคารเจ้าของบัตรให้ความเชื่อถือถานะทางการเงินของคุณ บัตรก็จะถึงมือคุณ อีก 4 – 5 วันถัดมา (อาจจะเป็นอาทิตย์) คุณก็จะได้รับใบแจ้งหนี้ใบแรกพร้อมกับเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมรายปีล่วงหน้า (บวกกับค่าธรรมเนียมแรกเข้าหากเจ้าของบัตรไม่ได้จัดโปรโมชั่นใดๆ) ขึ้นอยู่กับว่าบัตรของคุณจะเป็นบัตรเงินหรือบัตรทอง หรือว่าธนาคารไหนเป็นเจ้าของบัตร ค่าธรรมเนียมจะอยู่อย่างต่ำราวๆ 1200 บาทต่อปี หรือตกเดือนละ 100 บาท ที่คุณจะต้องจ่ายให้กับทางธนาคารฟรีๆ

ถึงคุณจะไม่ใด้ใช้บัตรเลยก็ตาม หากคุณต้องการเงินส่วนนี้คืนในรูปของเทคนิคการใช้บัตร คำนวนที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 3 % ต่อปี ท่านจะต้องซื้อของผ่านบัตรเฉลี่ย 40,000 บาทต่อเดือนแล้วจ่ายคืนครบทุกเดือนจึงจะเสมอตัว ซึ่งคงมีน้อยรายที่จะทำได้ เรามักจะถือว่าค่าธรรมเนียม 100 กว่าบาทต่อปีนี้ เป็นเรื่องของความสะดวกอย่างอื่นมากกว่าที่จะใช้ในกรณีการยืมเงินล่วงหน้าโดยไม่เสียดอกเบี้ย

แต่ปัจจุบันการคิดค่าธรรมเนียมในบัตรเงิน หรือบัตรทอง อาจจะไม่มีแล้ว เพราะแทบทุกธนาคารต่างแข่งขันกันจนไม่มีรายใดกล้าเก็บค่าธรรมเนียม อาจจะมีบัตรบางชนิดเช่น แพลททินั่ม ที่ในแต่ละปีอาจจะต้องใช้จ่ายผ่านบัตรจำนวนกี่หมื่นบาทก็ว่ากันไป ส่วนบัตร Beyond Platinum ของบางธนาคารอาจจะมีการเรียกเก็บสูงถึง 4,000 บาท ต่อปีก็มี เพื่อการบริการที่เป็นเอกสิทธิพิเศษเป็นต้น

บางบัตรก็อาจจะให้ผลตอบแทนนอกเหนือกว่าบัตรของเจ้าอื่นโดยอาจจะอยู่ในรูปการสะสมคะแนนต่างๆ เพื่อแลกของรางวัล โดยคะแนนจะได้จากยอดการใช้เงินของคุณในแต่ละเดือน

ดอกเบี้ย

หากคุณไม่จ่ายเงินเต็มจำนวนในแต่ละเดือนคุณก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารเจ้าของบัตร โดยอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเจ้าของบัตร ทั่วๆ ไปธนาคารจะคิดดอกเบี้ยที่ GLR + 10 % เช่นช่วงต้นปี 2558 อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตของ ธ.ไทยพาณิชย์จะอยู่ที่ 20 % ต่อปี แต่การคิดดอกเบี้ยนั้นไม่ใช่จะตรงไปตรงมานักเพราะเป็นลักษณะการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก การเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจ่ายเงินเต็มจำนวนหรือเปล่าถ้าไม่คุณจ่ายช่วงไหน หากคุณจ่ายเต็มจำนวนแต่หลังจากระยะปลอดดอกเบี้ยคุณก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ดี

ระยะปลอดดอกเบี้ย

บัตรเครดิตที่มีอยู่ในตลาดบ้านเราส่วนมากจะมีระยะปลอดดอกเบี้ยประมาณ 40-50 วัน แต่ไม่ใช่ว่าจะนับจากวันที่ใบแจ้งหนี้ส่งมาถึง แต่เป็นระยะเวลาสูงสุดที่คุณไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งๆที่คุณได้ใช้เงินนั้นไปแล้ว ยกตัวอย่างคือ สมมุติว่าคุณได้รับใบแจ้งหนี้ครั้งที่แล้ว(ใบที่ 1) ลงวันที่ 31 ธค 2557 (สมมุตินะครับ) คุณจะมีเวลาในการจ่ายเงินประมาณ 20 วัน คือต้องจ่ายภายในวันที่ 20 มค 2558 ธนาคารก็จะไม่คิดดอกเบี้ย

คราวนี้หากคุณซื้อของวันที่ 1 มค 2558 รายการนี้จะไปปรากฏในใบแจ้งหนี้ใบที่ 2 ลงวันที่ 31 มค 2558 และคุณมีเวลาอีกราว 20 วันที่จะจ่ายหนี้คือจ่ายคืนภายในวันที่ 20 กพ 2558 รวมเวลาที่คุณใช้เงินล่วงหน้าโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่ากับ 1-31 มค + 1-20 กพ = 30 + 20 หรือประมาณ 50 วัน

|S——-มค——-|——กพ—P—-| S=spend P=Pay

เท่ากับว่าหากคุณจ่ายเต็มจำนวนภายในกำหนดเสมอๆ และกะจังหวะการซื้อของที่ดีโดยไม่ผ่อนจ่ายเลย เท่ากับท่านยืมเงินโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเลยนานสูงสุดถึง 50 วัน คุณจะต้องทำแบบนี้ด้วยยอดซื้อของเดือนละ 24,000 บาท จึงจะคุ้มกับค่าธรรมเนียมเดือนละ 100 บาทที่กล่าวข้างต้น (อ้างอิงที่อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ 3 % ต่อปี)

การคิดดอกเบี้ย

หากคุณไม่จ่ายเต็มจำนวนหรือจ่ายล่าช้า โดยธรรมเนียมบัตรเครดิตทั่วไปแล้วจะเริ่มคิดดอกเบี้ยจากวันที่เริ่มซื้อของ จากข้อสมมุติข้างต้น หากท่านจ่ายครึ่งหนึ่งก่อนวันที่ 20 กพ ใบแจ้งหนี้ใบที่ 3 (สิ้นเดือน กพ) ก็จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่คุณซื้อของ (ในที่นี้คือ 1 มค) เท่ากับคุณต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 60 วัน จะเห็นว่าบางครั้งจ่ายช้าไปวันเดียวจะทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 3.16 % ของยอดเงินต้น (2×19/12) เพราะฉะนั้นไม่ควรลืมเด็ดขาด การคำนวนดอกเบี้ยไม่ใช่ง่ายๆ ต้องนับจำนวนวันของทุกรายการที่ใช้จ่ายเลยที่เดียว ยิ่งการผ่อนจ่ายหลายเดือนยิ่งชวนปวดหัว

แต่ธนาคารบางแห่งในไทยจะคิดดอกเบี้ยน้อยกว่านั้น (สงสัยระบบคอมพิวเตอร์ยังไม่เรียบร้อย) โดยหากคุณผ่อนจ่ายก็จะเริ่มคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่เหลือนับจากวันที่กำหนดจ่ายเงิน (20 กพ) วิธีนี้คำนวนง่ายกว่า เพราะนำยอดเงินจากเดือนที่แล้วมาคำนวนได้เลย ไม่ต้องนับว่าซื้อของมาแล้วกี่วันเป็นต้น ธนาคารก็จะยอมเฉือนกำไรทิ้งแต่อาศัยค่าธรรมเนียมรายปีสุดโหดมาชดเชย (มั้ง–ผู้เขียนเดาเอาเอง) ธนาคารต่างประเทศโดยมากจะไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปี (หรือคิดต่ำ) แต่ก็มีวิธีการคิดดอกเบี้ยอันซับซ้อนตามที่กล่าวมาข้างต้น

เงินสดล่วงหน้า

บัตรเครดิตมักจะยอมให้คุณถอนเงินสดฉุกเฉินล่วงหน้าได้แต่จะมีการคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสด โดยปกติธนาคารไทยจะคิดค่าธรรมเนียม 3 % ขั้นต่ำ 90 บาท เท่ากับว่าคุณถอนเงิน 100 -3000 บาทก็คิดค่าธรรมเนียม 90 บาท และทุกๆ 3000 บาทต่อไป ฉะนั้นเพื่อความประหยัด (ก็ไม่เชิง ต้องเป็นเพื่อความคุ้มค่า) คุณก็ควรจะถอนในลักษณะตัวคูณของ 3000 บาท เงินที่เหลือใช้ก็ควรนำไปฝากธนาคารเสียจะคุ้มค่ากว่า (ไหนๆ ธนาคารก็คิดเงินคุณแล้ว) ไหนจะอัตราดอกเบี้ยสุดโหด ฉะนั้นหากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรถอนเงินสดเพราะคุณอาจจะจ่ายดอกเบี้ยที่ 6.5 % ต่อเดือนเลยทีเดียว

Leave a comment