คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

ตั้งชื่อให้แปลกเข้าไว้ หากไม่อยากเจอเรื่องวุ่นวาย อยู่ๆทรัพย์สินก็จะตกไปเป็นของคนอื่น

AY7AXR man holds head in hands, credit cards bills money for debt

ตั้งชื่อให้แปลกเข้าไว้ หากไม่อยากเจอเรื่องวุ่นวาย อยู่ๆทรัพย์สินก็จะตกไปเป็นของคนอื่น

สมัยก่อนเห็นใครตั้งชื่อแปลกๆ ใช้ตัวอักษรประหลาดๆเช่น ฌลณัญ แบบนี้ กว่าจะพิมพ์ชื่อได้ทีหาแป้นคีย์บอร์ดกันให้ควั่ก แถมยังงงๆอีกว่าจะต้องออกเสียงอย่างไร ถ้าจะให้ประหลาดสุดๆก็คงเป็น ฌญญณัญ ซึ่งชื่อนี้อ่านออกเสียงว่า ชน-ยะ-นัน นะครับ

ตอนหลัง พอเจอกรณีที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เข้า ก็แทบจะประกาศไปให้ทั่วเลยว่า ตั้งชื่อให้มันอ่านยากๆหน่อยเถอะ ใช้ตัวอีกษรที่แปลกและแตกต่างยิ่งดี ไม่งั้นพอชื่อซ้ำ นามสกุลซ้ำ อาจจะโดนแจ้งความจับผิดตัวตามที่เคยเป็นข่าว อยู่ดีๆอาจจะเสียทรัพย์สินที่ไม่รู้ว่าจะได้คืนหรือไม่อีกด้วย

เหตุจากการไปประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี

เริ่มต้นเรื่องก็เกิดจากเห็นทรัพย์สินแถวละแวกบ้านลงประกาศขายทอดตลาดในเว็บของกรมบังคับคดี (http://asset.led.go.th/newbid/asset_search_map.asp) ค้นหาแถวตำบลที่อยู่ของบ้านตัวเอง เจอทรัพย์สินแปลงไม่ใหญ่มาก ราคาไม่แพง ดูจากแผนที่ในเว็บแล้วหายากนิดนึง แต่ก็ไม่ละความพยายาม

สุดท้ายก็หาที่ดินแปลงนั้นเจอ (บางทีเจอแปลงสวยแต่หาตำแหน่งที่ดินจริงๆไม่เจอจนต้องถอดใจก็หลายแปลง เพราะกลัวว่าภาพมันเก่าไปดูของจริงเขาขุดดินขายหมดแล้วจะซื้อบ่อปลาก็ใช่ที) คราวนี้พอหาเจอก็หมายมั่นปั่นมือว่าจะไปประมูลให้ได้ สืบราคาที่ดินละแวกนั้นว่าเขาซื้อขายกันราคาเท่าไหร่ จะได้ตั้งธงว่าจะสู้ที่เท่าไหร่ที่ไม่แพงเกินไปนัก

เอาเป็นว่าสุดท้ายก็ประมูลมาได้สมใจ แต่เป็นที่ นส 3. และฉโนดตัวจริงไม่มี แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะเมื่อประมูลได้แล้ว ทางสำนักงานบังคับคดีจะแจ้งเรื่องกลับไปยังศาลแล้วศาลก็จะออกหนังสือให้เราไปขอใบแทนโฉนดได้ เนื่องจากต้นขั้วตัวจริงของสำนักงานที่ดินนั้นยังคงอยู่ (เหมือนการฝากเงินในอดีตที่ยอดเงินที่แท้จริงจะดูจากต้นขั้วของธนาคารเท่านั้น)

สุดท้ายจ่ายตังค์ครบ ผ่านกระบวนการออกใบแทนฉโนด สลักหลังเป็นชื่อผู้ซื้อเรียบร้อย ก็เริ่มบุกเบิกพื้นที่ๆเคยเป็นป่ารกทิ้งร้างมาเป็น 10 ปี ด้วยการนำรถแมคโครเข้าไปปรับพื้นที่ ทำลายวัชพืชที่กลายเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ จ้างทั้งรถแมคโครเข้าไปหลายชั่วโมง แรงงานชาวบ้านในการเก็บกวาดกิ่ง ตัดทอนกิ่งไม้ไปรวมๆกันไว้รอให้เน่าเปื่อยบางส่วน รวมไปถึงการไถยกร่องสองสามตลบ ปลูกเพิงพักและที่เก็บปุ๋ย ขุดบ่อน้ำพร้อมที่จะติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเริ่มปลูกพิชเศรษฐกิจ และกำลังเตรียมจะล้อมรั้ว

ยังไม่ทันจะได้เก็บเกี่ยว ก็ได้รับการแจ้งมาจากทนายโจทย์ซึ่งเป็นธนาคารแห่งหนึ่งว่าจะมีการร้องต่อศาลเพื่อเอาที่ดินคืน ตอนแรกคิดว่าทนายพูดเล่น เพราะเคยเจอประจำว่าบางครั้งจำเลยยื่นฟ้องศาลถึงกระบวนการขายทอดตลอด จนต้องเพิกถอนก็มี หรือไปยึดที่ดินผิดแปลงมาก็มีเพราะจำเลยมีหลายแปลง แปลงที่ยึดกับแปลงที่ขายเป็นคนละแปลงกันเป็นต้น

ว่าแล้วข่าวร้ายก็เป็นจริง สืบสาวราวเรื่องได้ว่า เจ้าของที่ดินกับจำเลยนั้นมีชื่อตรงกัน พูดง่ายๆที่ดินหนะถูกแปลงแต่ความเป็นเจ้าของหนะผิดคน จะพูดว่ายึดที่ดินผิดแปลงมาขายทอดตลาดก็อาจจะไม่สื่อความหมายดีนัก

ถ้าอ่านแล้วยังงง จะขออธิบายอีกที

โจทย์ คือธนาคาร ยื่นฟ้องคดีการเป็นหนี้ (คดีผู้บริโภค) กับจำเลยที่มีชื่อว่า นางคนไทย ใจดี (นามสมมุติ) คราวนี้ตอนที่โจทย์ในฐานะเจ้าหนี้ชนะคดีกรณีการกู้ยืมเงินประการใดก็แล้วแต่ไปสืบทรัพย์ของลูกหนี้ที่ชื่อ นางคนไทย ใจดีรายนี้ ก็ไปเจอว่า นางคนไทย ใจดี มีทรัพย์สินเป็นที่ดินแปลงนี้อยู่ แต่เป็นคนละคนกัน

นั้่นคือทรัพย์ที่ไปยึดมาขายทอดตลาดนั้น ไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ตัวจริง แต่เป็นทรัพย์สินของใครก็ไม่รู้ที่มี ชื่อ และ นามสกุล ตรงกัน คนซื้อก็เข้าไปทำกินแล้ว เจ้าของตัวจริงนานๆมาดูที่ดินตัวเองที มาคราวนี้เจอว่าที่ดินของตัวเองราบเป็นหน้ากลอง มีขนำหลังเล็กๆของใครก็ไม่รู้มาปลูกอยู่

ดีว่าวันที่เจ้าของตัวจริงมาเจอนั้น คนซื้อทรัพย์ไม่อยู่ ไม่งั้นอาจจะมีเรื่องราวลงไม้ลงมือกันใหญ่โตเพราะเถียงกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปแจ้งความข้อหาบุกรุกเข้าโดนตำรวจคุมตัวไปสอบสวน ถ้าประกันต้วไม่ได้ก็อาจจะได้นอนโรงพักฟรีซักสองสามคืนก็เป็นได้

ยังดีว่าฝั่งเจ้าของตัวจริงไปถามคนข้างเคียงซึ่งทางผู้ซื้อได้เคยแจ้งไว้แล้วว่าจะมาไถที่เพราะซื้อมาแล้วจากบังคับคดี ทางเจ้าของที่ตัวจริงเลยไปหาข้อมูลได้รวดเร็วว่าเรื่องราวต่างๆมันเป็นมาเป็นไปอย่างไร

ทางเจ้าของตัวจริงเลยไปร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเพราะเป็นทรัพย์ของเขา เขาไม่ใช่ลูกหนี้ธนาคาร แต่ชื่อกับนามสกุลไปตรงกับลูกหนี้ของธนาคารแค่นั้น

ระหว่างนี้ก็ต้องรอกระบวนการทางศาลละครับว่าจะออกมาทางไหน เพราะผู้ซื้อก็ลงทุนไปเยอะแล้ว จะเก็บเกี่ยวก็ไม่ได้ ต้องทิ้งผลผลิตไป ค่าใช้จ่ายต่างๆก็ไม่รู้จะเอาจากใคร เงินก็จ่ายไปแล้ว จะเข้าไปยังที่ดินตัวเองที่ถือโฉนดอยู่ก็ไม่กล้า เพราะถ้าทางโน้นแจ้งความบุกรุกมา ก็ต้องหาเงินมาประกันตัวแล้วพิสูจน์กันวุ่นวาย

ท่านอาจจะคิดว่ายึดผิดแปลงทำไมจะเพิกถอนไม่ได้ แต่หากอ่านข้อกฏหมายท่านจะพบว่า ป.พ.พ. 1330 ระบุไว้ว่า “สิทธิของบุคคล ผู้ซื้อทรัพย์สิน โดยสุจริต ในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาล หรือ คำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ ในคดีล้มละลายนั้น ท่านว่า มิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินนั้น มิใช่ของจำเลย หรือ ลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือ ผู้ล้มละลาย

สุดท้ายศาลชั้นต้น พิพากษา ยกคำร้อง  นั่นคือไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะไม่ใช่ของจำเลยก็ตาม ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 30 วัน  เรื่องราวต่อเนื่องติดตามได้ด้านล่างนะครับ

ระหว่างนี้ก็ได้แต่แนะนำว่า ใครมีชื่อ นามสกุล แบบตัวสะกดแบบธรรมดา รีบหาทางไปเปลี่ยนชื่อกันนะครับ ไม่งั้นวันดีคืนดีอาจจะต้องจิตตก เครียด เสียค่าใช้จ่าย วิ่งหาทนาย เพื่อไปฟ้องเอาที่ดินของตัวเองคืน ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้ไปเป็นหนี้ใครก็เป็นได้

ขอแนะนำชื่อนึงฟังดูแล้วเพราะมาก แม้จะดูประหลาด แต่ก็อาจจะซ้ำกับคนอื่นก็ได้อยู่นะครับ

ชื่อนั้นคือ “คฤจภัคร คิศถฤงคิษแคธ

——— เรื่องราว ยังไม่จบ ————-

ต้นเดือนตุลาคม 2560 หลังศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ทาง สนง บังคับคดีเรียกคู่ความทุกฝ่ายไกล่เกลี่ย ผลสรุปคือ ผู้ซื้อทรัพย์จะโอนที่ดินคืนให้กับเจ้าของตัวจริง แล้ว สนง.บังคับคดีจะคืนเงินค่าประมูลทรัพย์มาให้ โดยผู้ซื้อทรัพย์จะไปเรียกร้องค่าสินไหมจาก จนท. ในสำนักงานที่ดิน และฝ่ายเจ้าของทรัพย์จะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากธนาคาร

ปลายเดือนตุลาคม 2560 ผู้ซื้อทรัพย์โอนคืนทรัพย์สินให้กับเจ้าของที่ตัวจริง พร้อมยื่นหนังสือขอเงินคืน

ธันวาคม 2560 สนง บังคับคดี นัดไกล่เกลี่ยอีกรอบ เพื่อติดตามผล ทางฝ่ายผู้ซื้อทรัพย์แจ้งว่าได้โอนทรัพย์คืนให้เจ้าของตัวจริงแล้วและได้รับการเยียวยาจาก ผู้ไม่ประสงค์ออกนามจาก สนง ที่ดินแล้ว

มกราคม 2561 นัดฟังผลการไกล่เกลี่ยอีกรอบ ตัวแทนธนาคารแจ้งว่า ยังไม่สามารถเยียวยาเจ้าของทรัพย์ตัวจริงได้ ต้องการเอกสารหลักฐานจากการไกล่เกลี่ย ทุกฝ่ายตกลง และแจ้งว่าให้เวลา 30 วัน ธนาคารที่ยึดทรัพย์ผิดแปลงไปประมูลจะต้องจ่ายค่าเยียวยาเจ้าของทรัพย์และคืนเงินส่วนที่ได้จากการขายทรัพย์กลับมาที่ สนง บังคับคดี

มีนาคม 2561 ยังไม่ได้รับคำตอบจากธนาคาร ผู้ซื้อทรัพย์ไปติดต่อขอคืนเงินส่วนที่ยังค้างอยู่ที่ สนง บังคับคดี เนื่องจากทรัพย์ก็โอนกลับไปแล้ว เงินที่อยู่ที่บังคับคดีก็เป็นเงินของตัวเอง สนง บังคับคดีแจ้งว่า ให้ไปร้องศาลเอาเอง เพราะ สนง บังคับคดีไม่มีอำนาจสั่งจ่าย

ตกลงกระบวนการไกล่เกลี่ย เราทำแล้วตามสัญญา แต่หน่วยงานของรัฐกลับไม่ทำตามสัญญา แบบนี้หมายความว่าไง

ตอนนี้เลยกำลังอยู่ในขั้นตอนติดต่อสื่อต่างๆ เพื่อนำเรื่องราวไปถามกันว่า ตกลง สนง บังคับคดีตั้งระบบไกล่เกลี่ยขึ้นมาทำไม ในเมื่อไม่ทำตามที่ตัวเองตกลงไว้ แล้วยังท้าให้ไปร้องศาลเอาเอง

เสียเงินประมูลไปแล้ว ที่ดินก็โอนกลับไปแล้ว เงินที่ค้างอยู่ก็ไม่ได้ ต้องให้เสียค่าทนายอีกเหรอเนี่ย พวกกระผมควรทำอย่างไรดีครับ

Leave a comment