คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

ภาษีแบบขั้นบันไดคำนวณอย่างไร

ภาษีแบบขั้นบันไดคำนวณอย่างไร

การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด หากรายได้ถึงเกณฑ์แต่คำนวณแล้วไม่ต้องเสียภาษีก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นแบบการเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร

วิธีการในการคำนวณหักค่าลดหย่อนต่างๆ นั้นคิดว่าไม่ยาก มักจะคุ้นชินกันอยู่แล้ว เราสามารถหาเครื่องมือช่วยในการคำนวณภาษีต่างๆได้ไม่ยาก โดยเพียงแค่นำรายได้ทั้งหมดมาหักค่าหลดหย่อนต่างๆ แล้วจะได้ยอดเงินได้ที่ต้องนำไปคิดภาษี

ประเด็นปัญหาก็คือวิธีในการคำนวนภาษีแบบขั้นบันได ที่หากคำนวนด้วยมือแล้วจะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามาดูกันนะครับว่าหากหาตัวช่วยไม่ได้ เราจะคำนวนภาษีแบบขั้นบันไดได้อย่างไร

เริ่มจากการดูตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเอาไว้คำนวณภาษาสำหรับการยื่นแบบในปี 2559

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปี พ.ศ. 2558
รายได้สุทธิตั้งแต่(บาท)  อัตราภาษี
แบบใหม่ (ปี 2558)
0  ถึง  150,000  ยกเว้น
เกิน 150,000 300,000 5%
เกิน 300,000 500,000 10%
เกิน 500,000 750,000 15%
เกิน 750,000 1,000,000 20%
เกิน 1,000,000 2,000,000 25%
เกิน 2,000,000 4,000,000 30%
 เกิน 4,000,000 บาทขึ้นไป  35%

จะเห็นได้ว่า เมื่อนำรายได้ หักค่าลดหย่อนแล้ว หากเงินเหลือสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งหากเรานำค่าลดหย่อนพื้นฐานมารวม ( 60,000 บาท + 30,000 บาท = 90,000 บาท) จะได้ตัวเลขเงินรายได้ที่ 240,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือน 20,000 บาท

นั่นแสดงว่าหากเงินเดือนคุณ 20,000 บาท หรือต่ำกว่าต่อเดือน และไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม เช่นดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน เบื้ยประกันชีวิต ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คุณก็ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด

ปัญหาคือหากมีเงินเดือนมากกว่านี้ จะคิดคำนวณภาษีอย่างไร เนื่องจากต้องคำนวนแบบขั้นบันได ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างกรณีบุคคลที่มีเงินเดือนจำนวนต่างๆ และคิดเฉพาะค่าลดหย่อนพื้นฐานเท่านั้นนะครับ เพื่อจะได้เห็นวิธีการคำนวน

ตัวอย่างเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน

เงินได้ทั้งปี 30,000 x 12 = 360,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 = 60,000 บาท
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 = 30,000 บาท
รวมค่าลดหย่อน 90,000 บาท

เงินได้สุทธิ = 360,000 – 90,000 = 270,000 บาท

ช่วงหักออกอัตราภาษีคงเหลือ

ช่วงเงินสุทธิ หักออก อัตราภาษี เงินภาษี คงเหลือ
0 – 150,000 150,000 0% 0.00 120,000
150,000 – 300,000 120,000 5% 6,000
รวมภาษีที่ต้องจ่าย 6,000

ดังนั้นหากมีเงินเดือน 30,000 บาท ต่อเดือน รายได้ทั้งปี 360,000 บาท จะเสียภาษีประมาณ 6,000 บาท

ตัวอย่างเงินเดือน 40,000 บาทต่อเดือน

เงินได้ทั้งปี 40,000 x 12 = 480,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 = 60,000 บาท
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 = 30,000 บาท
รวมค่าลดหย่อน 90,000 บาท

เงินได้สุทธิ = 480,000 – 90,000 = 390,000 บาท

ช่วงหักออกอัตราภาษีคงเหลือ

ช่วงเงินสุทธิ หักออก อัตราภาษี เงินภาษี คงเหลือ
0 – 150,000 150,000 0% 0.00 240,000
150,000 – 300,000 150,000 5% 7,500 90,000
300,000 – 500,000 90,000 10% 9,000
รวมภาษีที่ต้องจ่าย 16,500

ดังนั้นหากมีเงินเดือน 40,000 บาท ต่อเดือน รายได้ทั้งปี 480,000 บาท จะเสียภาษีประมาณ 16,500 บาท

 

ตัวอย่างเงินเดือน 50,000 บาทต่อเดือน

เงินได้ทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 = 60,000 บาท
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 = 30,000 บาท
รวมค่าลดหย่อน 90,000 บาท

เงินได้สุทธิ = 600,000 – 90,000 = 510,000 บาท

ช่วงหักออกอัตราภาษีคงเหลือ

ช่วงเงินสุทธิ หักออก อัตราภาษี เงินภาษี คงเหลือ
0 – 150,000 150,000 0% 0.00 360,000
150,000 – 300,000 150,000 5% 7,500 210,000
300,000 – 500,000 200,000 10% 20,000 10,000
500,000 – 750,000 10,000 15% 1,500
รวมภาษีที่ต้องจ่าย 29,000

ดังนั้นหากมีเงินเดือน 50,000 บาท ต่อเดือน รายได้ทั้งปี 600,000 บาท จะเสียภาษีประมาณ 29,000 บาท

 

ตัวอย่างเงินเดือน 80,000 บาทต่อเดือน

เงินได้ทั้งปี 80,000 x 12 = 960,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 = 60,000 บาท
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 = 30,000 บาท
รวมค่าลดหย่อน 90,000 บาท

เงินได้สุทธิ = 960,000 – 90,000 = 870,000 บาท

ช่วงหักออกอัตราภาษีคงเหลือ

ช่วงเงินสุทธิ หักออก อัตราภาษี เงินภาษี คงเหลือ
0 – 150,000 150,000 0% 0.00 720,000
150,000 – 300,000 150,000 5% 7,500 570,000
300,000 – 500,000 200,000 10% 20,000 370,000
500,000 – 750,000 250,000 15% 37,500 120,000
750,000 – 1,000,000 120,000 20% 24,000
รวมภาษีที่ต้องจ่าย 89,000

ดังนั้นหากมีเงินเดือน 80,000 บาท ต่อเดือน รายได้ทั้งปี 960,000 บาท จะเสียภาษีประมาณ 89,000 บาท

หวังว่าคงพอเป็นแนวทางในการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดนะครับ โดยสรุปคือการหักเงินในแต่ละขั้นออกจากเงินได้สุทธิมาคำนวนภาษีในแต่ละช่วง แล้วรวมตัวเลขเงินภาษีในแต่ละช่วงมาคำนวณเป็นภาษีทั้งหมด

Leave a comment