คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

จุดเริ่มต้น เริ่มทำให้เป็นนิสัย : ออมเงิน

การออมเงินจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

การเก็บเงินให้มากขึ้นจัดการหนี้ให้น้อยลง

การเก็บเงินให้มากขึ้นการจัดการหนี้ให้น้อยลง

จุดเริ่มต้น เริ่มทำให้เป็นนิสัย

เลิกบ่นเสียทีว่าทำงานมาตั้งนาน แต่ไม่เคยมีเงินเก็บกับเค้าบ้าง ถ้าคุณยังไม่เริ่มคุณก็ไม่ต้องบ่น แต่หากคุณอยากมีเงินเก็บ ก็ให้เริ่มเสียตั้งแต่วันนี้ คนอื่นที่เขามีเพราะเขาเก็บมานาน บางคนเก็บมาจนเป็นนิสัยตั้งแต่เด็กๆ บางคนเริ่มเก็บตั้งแต่ตอนเริ่มทำงาน แล้วคุณหละจะเริ่มเมื่อไหร่

กลวิธีเก็บเงิน

– เริ่มก่อนทีละเล็กน้อย ตามตำราบอกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของคุณ ถ้าคุณมีเงินเดือน 15000 บาท ก็เก็บไว้เดือนละ 1500 บาท แต่ในช่วงแรกๆ คุณอาจจะรู้สึกไม่เคยชิน หรือรู้สึกว่าเงินไม่พอ ก็ไม่ต้องทำตามตำราหรอก เริ่มต้นสักเดือนละ 500 บาท ก็ได้ แต่ขอให้สม่ำเสมอ อย่าท้อถอยหากเดือนนั้นๆ คุณเก็บไม่ถึง 500 บาท มีเท่าใหร่ก็เก็บเท่านั้นไปก่อน แต่ต้องทำทุกเดือน โดยเฉพาะตอนสิ้นเดือน

– พยายามอย่าเก็บเงินสดไว้ในกระเป๋ามากเกินไป พยายามถอนด้วยจำนวนคงที่ (หลังจากได้วางแผนแล้ววะค่าใช้จ่ายส่วนตัวอาทิตย์ละเท่าไหร่) ถอนมาให้พอใช้แค่ 1 อาทิตย์ พอสิ้นอาทิตย์เงินเหลือเท่าไหร่ก็เก็บไว้ แล้วค่อยไปถอนงวดใหม่มาอีก แล้วเก็บบัตร ATM ไว้ที่บ้าน ถ้าแต่ละอาทิตย์เงินเหลือเยอะก็ให้ลดจำนวนที่ถอนลง อย่าลืมว่าเวลาเราเห็นของจะเกิดความรู้สึกอยากจะซื้อถ้ามีตังค์ แล้วเรามักจะปลอบใจตัวเองว่า ไม่เป็นไรซื้อไปก่อน เรื่องอื่นค่อยคิดกันทีหลัง อันนี้เป็นความคิดที่ผิด คุณก็จะไม่มีเงินเก็บซักที ผู้เขียนเองตั้งงบไว้วันละ 100 บาท อาทิตย์หนึ่งจะถอนมาใช้จ่ายครั้งละ 700 บาท (มีเศษตังค์ให้ด้วย ถอนทีละ 1000 แม่ค้าไม่มีทอน)เป็นค่าอาหาร ค่าขนม หนังสืออ่านเล่น ค่าน้ำมันรถก็มีงบประมาณต่างหาก

– พยายามจ่ายหนี้ต่างๆโดยเฉพาะ credit card ให้หมดก่อน หากคุณจ่ายเต็มจำนวนทุกเดือนก็นับเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเป็นแบบผ่อนจ่ายละก็พยายามจ่ายเพิ่มทุกๆ เดือนเพื่อให้หมดโดยเร็ว ทำไมต้องเสียดอกเบี้ยที่ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ พอเคลียร์หนี้หมดก็นำเงินที่เคยจ่ายหนี้นั้นมาเก็บไว้ (ก็คุณเคยหาเงินจำนวนนั้นมาได้นี่) พยายามนึกว่าคุณกำลังจ่ายหนี้ต่อไปอีก แต่คุณประหยัดดอกเบี้ยไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

– ไม่ต้องเอาเงินไปโปะรถ เอามาโปะบ้านดีกว่าเพราะเงินงวดที่คุณผ่อนรถนั้นได้รวมดอกเบี้ยไปจนถึงงวดสุดท้าย ถึงคุณจะเจรจาต่อรองกับไฟแนนส์เขาก็ลดให้คุณได้ไม่มาก โปะบ้านไปซัก 10000 บาท ถ้าคุณเพิ่งเริ่มผ่อนมาไม่กี่ปี จะทำให้คุณประหยัดดอกเบี้ยได้เกือบแสน ผ่อนสั้นลงหลายเดือน

– ทำบัญชีหากคุณความจำไม่ดี คนจะเป็นคนที่เก็บเงินได้เก่งหากคุณทราบว่าเงินเดือนในแต่ละเดือนนั้น เป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ซื้ออะไรได้เท่าไหร่ หลายคนๆ มีเงินอยู่บัญชีเดียว ช่วงต้นเดือนก็จะรู้สึกว่ามีเงินเยอะ พอเวลาผ่านไปต้องจ่ายค่าโน่นค่านี่จนเงินไม่พอต้องยืมเพื่อนทุกที

– สุดท้าย เงินที่ประหยัดได้อย่าเก็บไว้ในกระเป๋าหรือในห้องนอนตัวเอง เพราะเวลาเห็นเงินแล้วอยากออกไปซื้อของ นำไปฝากไว้ในธนาคาร เปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่มีบัตร ATM การทำให้ถอนลำบากทำให้เราไม่สะดวกที่จะใช้จ่าย (เลิกงานมาช้อปปิ้งแบ้งค์ก็ปิดแล้ว) สมุดบัญชีก็เอาไปซ่อนไว้ไกลๆ อย่าไปเปิดดูว่ามีเท่าไหร่แล้ว (ให้ลืมไปเลย) อาจจะฝากคนที่ไว้ใจได้เช่น พ่อที่ต่างจังหวัดช่วยเก็บไว้ เวลาฝากมีหมายเลขบัญชีก็พอแล้ว

นอกจากวิธีเก็บเงินแล้ว ก็ยังมีวิธีลดต้นทุนค่าใช้จ่ายประจำวัน ซึ่งเมื่อค่าใช้จ่ายลดลง เงินก็เหลือเก็บมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างไรให้มีเงินเหลือเก็บมาฝากคุณผู้อ่าน

ปัจจุบันคนเมือง 100% จะมีเครื่องปรับอากาศ ติดบ้านไว้เสมอ เพราะอุณภูมิของอากาศบ้านเราที่ร้อนขึ้นการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดไฟจึงมีความสำคัญต้องเรียนรู้ไว้ เราไปดูเทคนิคใช้แอร์บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟในช่วงหน้าร้อนนี้
  1. ล้างแอร์ – ฝุ่นที่สะสมอยู่บริเวณตัวกรองฝุ่นนั้น นอกจากจะเป็นสารก่อโรคภูมิแพ้ และตัวการที่ทำให้แอร์มีกลิ่นเหม็นอับแล้ว ยังทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น เพราะอากาศที่ไหลผ่านถูกปิดกั้น ทำให้ระยะเวลาที่อุณภูมิความเย็นในห้องจะคงที่นานขึ้น ยิ่งนานก็ยิ่งต้องใช้พลังงานมากตามไปด้วย ข้อแนะนำคือควรมีการล้างแอร์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  2. กันร้อนให้คอมเพรสเซอร์ – แนะนำว่าไม่ควรติดตั้งคอมเพรสเซอร์ไว้ให้ถูกแสงแดด หรือใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อนอื่น ๆ โดยตรง หากทำได้อย่างนี้จะช่วยให้คุณประหยัดไฟขึ้นอย่างน้อย 15%-20%
  3. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 26-27 องศาเซลเซียส และนำพัดลมมาช่วยกระจายความเย็นให้ห้องเย็นเร็วขึ้น ช่วยประหยัดไฟได้ 10%-30%
  4. หลีกเลี่ยงการทำอาหารในห้องแอร์ – นอกจากจะช่วยไม่ให้แอร์มีกลิ่นเหม็นอับแล้ว ยังช่วยประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศได้ด้วย เพราะไม่มีอุปกรณ์ที่ไปเพิ่มภาระความร้อนในห้องนั่นเอง
  5. ปิดประตู หน้าต่างให้สนิท ป้องกันความร้อนชื้นจากภายนอกเข้ามา เพราะหลักการทำงานของระบบปรับอากาศนั้น 30% ใช้พลังงานไปเพื่อทำความเย็น อีก 70% ใช้ไปเพื่อทำให้อากาศในห้องนั้นแห้งลง ด้วยสาเหตุนี้คนที่ทำงานในห้องแอร์ติดต่อกันนาน ๆ จึงมีปัญหาผิวแห้งขาดน้ำกว่าคนที่ทำงานในอุณภูมิปกติ ทางแก้ปัญหาคือการดื่มน้ำทดแทนระหว่างวันเพิ่มขึ้น หรือนำแก้วใส่น้ำมาวางไว้ที่โต๊ะทำงานเพื่อช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ
  6. ถ่ายเทความร้อน – ก่อนที่จะเปิดแอร์ประมาณ 15 นาทีแนะนำให้เปิดประตู หน้าต่างให้อากาศภายนอกไหลเวียนเข้ามาในห้อง นอกจากจะช่วยลดอุณภูมิความร้อนสะสมในห้องได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มก๊าซอ๊อกซิเจนให้เราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งช่วยลดกลิ่นเหม็นอับในห้องได้อีกด้วย
  7. ปิดก่อนออก – เทคนิคประหยัดไฟเดียวกันกับการใช้เตารีดผ้า เพราะความเย็นที่หลงเหลืออยู่นั้นจะช่วยให้คุณเย็นสบายอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถประหยัดค่าไฟไปได้ครั้งละ 30 นาทีเลยทีเดียว
  8. แชร์พื้นที่ความเย็นร่วมกัน – หากห้องนั่งเล่น กับห้องทำงานอยู่ติดกัน ก็สามารถแชร์ความเย็นร่วมกันได้ โดยนำพัดลมมาช่วยกระจายความเย็น ไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกันหลายตัว
8 เคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยให้คุณสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันลงได้จากการใช้เครื่องปรับอากาศนี้ลองนำไปปรับใช้กันนะครับ รับประกันว่าหน้าร้อนนี้จะไม่ทำให้คุณร้อนเงินแน่นอน
ที่มา: sanook.com

Leave a comment