เริ่มแล้วธนาคารส่งข้อมูลการรับเงินให้สรรพากร
เริ่มแล้วสำหรับการให้ธนาคารส่งข้อมูลการรับเงินโอนทุกกรณีทุกบัญชีให้สรรพากรเพื่อตรวจสอบการขำระภาษี หลังเว็บไซท์ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศ กฏกระทรวง ฉบับบที่ 255 (พ.ศ. 2562) โดยกำหนดให้สถาบันการเงินได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเลคทรอนิคส์ (E-Money) มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 32 มีนาคมของทุกปี โดยเริ่มครั้งแรก มีนาคม 2563
การกำหนดให้รายงานข้อมูลทางการเงินในลักษณะนี้ก็เพื่อเป็นข้อมูลให้สรรพากร ได้ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของบรรดาแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย รวมถึงคนที่ทำธุรกิจอื่นๆที่มีเงินโอนผ่านบัญชีเป็นจำนวนมากแต่ไม่อยู่ในระบบภาษี เนื่องจากปัจจุบันประชาชนหันมาทำธุรกิจในระบบออนไลน์มากขึ้นไม่มีหน้าร้านให้สรรพากรเดินสำรวจเลยอาจทำให้ยากแก่การตรวจสอบว่าเสียภาษีหรือไม่
ข้อมูลเหล่านี้ทางสรรพากรจะนำไปประมวลผลเพื่อตรวจสอบกับข้อมูลการจ่ายภาษีของบุคคลนั้นๆเพื่อทำให้คนเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าถ้าท่านชำระภาษีถูกต้องอยู่แล้วก็ไม่ต้องมีอะไรให้กังวลใจ แต่สำหรับคนที่ทำธุรกิจหลบเลี่ยงภาษีหรือธุรกิจสีเทาก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างมาตรฐานการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้นระหว่างผู้เสียภาษีถูกต้องและผู้ที่หลบเลี่ยงภาษี
ทั้งนี้ธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะก็คือ
1. การฝากเงินหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร
2. การฝากเงินหรือรับโอนทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวม 2,000,000 บาทขึ้นไป ต่อปี ต่อธนาคาร
ผู้ที่ทำงานรับเงินเดือนทั่วไปก็คงรับเงินเดือนๆละครั้ง รวม 12 ครั้งต่อปี และหากมีเงินอื่นๆเข้ามาอีก ก็คงไม่เกิน 33 ครั้งต่อเดือน หรือคงไม่เกินวันละครั้งหรอกใช่ไหมครับ นอกจากคนที่ทำธุรกิจขายของเท่านั้น
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.