คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

ประกัน พ.ร.บ. คืออะไร

ประกัน พ.ร.บ. คืออะไร

สำหรับคนที่เป็นเจ้าของรถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ คงจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี เพราะการไปต่อทะเบียนรถที่ขนส่ง จะต้องมีการซื้อประกัน พ.ร.บ. ก่อนแล้วนำไปแสดงให้กับทางขนส่ง ไม่งั้นก็จะไม่ได้รับการต่อทะเบียนให้ คำถามคือแล้วคำว่า ประกัน พ.ร.บ. มันมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงใช้ชื่อนี้ เรามาดูกันนะครับ

คำว่า ประกัน พ.ร.บ. ที่เราพูดติดปากกันนั้น หมายถึง การประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดย ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ที่ว่านี้ หากไม่ทำก็จะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ประกันนี้จึงมักเรียกกันย่อ ๆ ว่า ประกันภาคบังคับ

ดังนั้นคำว่า ประกัน พ.ร.บ. จึงมาจากชื่อของพระราชบัญญัตินั่นเอง แต่เรียกให้สั้นลง จนเหลือแค่คำว่า ประกัน พ.ร.บ. หรือบางคนอาจจะเรียกสั้นลงไปอีกว่า พ.ร.บ. เฉยๆก็มี

วงเงินคุ้มครองตาม ประกัน พ.ร.บ.

ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น จะได้เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น (หรือจำง่าย ๆ คือ คุ้มครอง “คน” ไม่คุ้มครอง “รถ”) โดยความคุ้มครองจาก พ.ร.บ กำหนดให้มีมูลค่าความรับผิดชอบ (ต่อคน) ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน

จะเห็นว่าในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต การคุ้มครองจะรวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคนและความเสียหายต่อชีวิต 35,000 บาทต่อคนก่อน แต่หลังจากสอบสวนความตามกฎหมายกับคู่กรณีแล้วผู้ประสบภัยไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินเพื่อช่วยในการปลงศพรายละ 100,000 บาท

 

motorcycle-accident

การขอรับความคุ้มครองจากประกัน พ.ร.บ.

หลังจากประสบภัยแล้ว ผู้ประสบภัยสามารถขอรับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีรูปแบบดังนี้

1. หากรักษาตัวที่โรงพยาบาลสามารถแจ้งความจำนงกับโรงพยาบาลในการใช้สิทธิพ.ร.บ.โดยมอบอำนาจให้ทางโรงพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกับบริษัทประกันภัยได้ทันที

2.หากไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่ผู้ประสบภัยสำรองจ่ายไปก่อนก็สามารถนำเอกสารไปตั้งเบิกกับบริษัทที่ทำประกันไว้ได้ภายใน 180 วันหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุโดยเอกสารในการเคลมประกันมีดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาพ.ร.บ. (หรือพ.ร.บ.ตัวจริงที่เอาประกันอยู่)
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • ใบเสร็จรับเงินจากทางโรงพยาบาลที่สำรองจ่ายไปทั้งหมด

แต่ทั้งนี้หากผู้ประสบภัยยังไม่สามารถสรุปยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ในวันเดียวก็สามารถรวบรวมใบเสร็จรับเงินที่ต้องรักษาทั้งหมดให้ได้ก่อน แล้วจึงไปตั้งเบิกภายหลังทีเดียวก็ได้โดยจะต้องดำเนินการภายใน 180 วันหลังจากประสบภัย

Leave a comment