คลิ้กเลย!! เทพแห่งเงินด่วน โทร 0928840418 <- จิ้มที่ตัวเลขแล้วกดโทรเลย

News Ticker

เก็บเผื่อฉุกเฉิน : การออม

การออมเงินจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

การเก็บเงินให้มากขึ้นจัดการหนี้ให้น้อยลง

การเก็บเงินให้มากขึ้น การจัดการหนี้ให้น้อยลง

เก็บเผื่อฉุกเฉิน

เมื่อคุณเริ่มที่จะออมแล้ว อย่าลืมตั้งเป้าหมายเก็บเงินเผื่อยามฉุกเฉินบ้าง เพราะชีวิตเอาแน่ไม่ได้ เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาก็จะได้ไม่ต้องวิ่งไปหยิบยืมใคร

พอคุณเริ่มเก็บเงิน อย่าลืมต้องเก็บเงินส่วนหนึ่งเพื่อเหตุฉุกเฉินด้วย เพราะตอนนี้คุณอาจจมีบ้านมีรถ แต่หากคุณตกงานหล่ะ สิ่งของเหล่านั้นก็ต้องหายไป อย่าคิดริจะเป็นนักลงทุนหากคุณยังไม่มีเงินสำรอง

จำนวนเงินที่คุณจะเก็บอย่างน้อยก็ประมาณ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งไม่ใช่ 3 เท่าของเงินเดือน เงินส่วนนี้ต้องมีมากพอที่จะครอบคลุมค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหารตลอด 3 เดือน ควรจะทำรายการบันทึกให้ละเอียดชัดเจน หากคุณเก็บเงินนี้ไว้กับเงินเก็บอย่างอื่นของคุณ

การเข้าถึงเงินควรทำได้ง่าย การเก็บในรูปของเงินสดนั้นดีที่สุด แต่อย่าลืมว่าเข้าถึงง่ายหมายถึงถอนออกมาได้ง่าย คุณต้องควบคุมตัวเอง ไม่ใช่ว่าอยากซื้ออะไร แล้วเอาเงินส่วนนี้ไปใช้ ควรใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์ของมัน เช่นค่าหยูกค่ายาเวลาเจ็บป่วย ค่าเปลี่ยนหลอดไฟหน้ารถ หรือกรณีตกงานเป็นต้น หากได้ข่าวแว่วๆ ว่าจะถูกลดเงินเดือนหรือปลดคนงานก็ควรใส่เพิ่มให้มากขึ้น หลังจากคุณนำเงินไปใช้แล้ว คุณก็ต้องนำเงินมาเติมกลับให้เต็มเป็นอย่างแรก ไม่งั้นจะเกิดกรณีซวยซ้ำสองแต่ไม่มีเงินเหลือ เพราะไปซื้อ Blueray เครื่องใหม่ตอนไปเปลี่ยนไฟหน้ารถเป็นต้น

เก็บในบัญชีเงินฝากที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเช่น ไม่มีบัตร ATM เพราะจะเป็นการสิ้นเปลือง อย่าใส่ในบัญชีฝากประจำเพราะคุณอาจเสียดอกเบี้ยที่ควรจะได้หากต้องถอนมาใช้ก่อนครบงวด

หลังจากคุณเริ่มสะสมได้ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน ก็ให้คุณสะสมต่อไปเรื่อยๆ เพื่อความอุ่นใจมากขึ้นกลายเป็น 6 เดือน 9 เดือนหรือ 1 ปี และเพื่อผลประโยชน์สูงสุดก็ให้นำเงินส่วนที่เกิน 3 เดือนมาหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น หากช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูง อาจจะนำเงินมาฝากไว้ในบัญชีฝากประจำถ้าหากหักภาษีแล้วแล้วคุ้มค่ากว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่การฝากบัญชีประจำควรฝากประเภท 3 เดือนไม่ควรให้นานกว่านี่เพราะดอกเบี้ยก็ต่างกันไม่มาก (ยกเว้นจะเป็นเงินจำนวนมาก) การฝากก็ไม่ควรนำมาฝากทั้งก้อนให้ทยอยฝากโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน แล้วฝากเดือนละ 1 ส่วน ในกรณีที่จำเป็นต้องถอนก็จะไม่สูญเสียดอกเบี้ยอันเกิดจากการถอนทั้งก้อนแต่ใช้นิดเดียว

เมื่อคุณเริ่มมีเงินฉุกเฉินพอเพียงนั่นแหละจึงถึงตอนที่คุณคิดจะนำเงินไปลงทุน เช่นซื้อหุ้นในตลาดหุ้น หรือซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม

ตัวกินเงิน

การลดค่าใช้จ่ายมักจะเป็นสิ่งที่ทุกคนมองข้ามด้วยความเคยชิน พูดถึงคำว่าลดค่าใช้จ่าย หลายคนพาลนึกไปถึงการเปลี่ยนแปลง lifestyle เช่นเลิกเดินห้าง เลิกดูหนัง เลิกทานอาหารนอกบ้าน ความจริงแล้วไม่ใช่ เป็นการลดอะไรที่ไม่ค่อยจำเป็น หรือฟุ่มเฟือยเกินไป เช่นปกติเวลาทานอาหารนอกบ้าน หรือตามในศูนย์อาหาร เครื่องดื่มที่คุณดื่มประจำคืออะไร ชาเย็น (15 บาท) น้ำอัดลม (15 บาท) น้ำผลไม้ (10 บาท) ในขณะที่เครื่องดื่มที่มีประโยชน์กว่า ไม่ผสมน้ำตาลให้คุณอ้วน คือน้ำเปล่า (ขวดละ 6 บาท) หรือฟรีสำหรับร้านข้าวแกงธรรมดา

สังเกตุดูในศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้า ตามโต้ะต่างๆ มีคนซื้อน้ำเปล่าดื่มเยอะหรือไม่ แล้วคุณจะแปลกใจ โอเคคุณขาดน้ำอัดลมไม่ได้ แต่ลองดูสักวันเว้นวันหรือมื้อเว้นมือจะเป็นไรไป แล้วค่อยลดลงเรื่อยๆ ที่บ้านในตู้เย็นไม่ต้องไปซื้อน้ำอัดลมไว้เลย น้ำเปล่าดีที่สุด เวลาแขกไปใครมาก็ยกน้ำเปล่านั่นแหละ เพราะตามธรรมเนียมแขกมักจะดื่มนิดเดียว ที่เหลือต้องทิ้ง นอกจากตัวอย่างนี้แล้วคุณก็สามารถลดรายการอื่นๆ ได้อีกมาก ลองนั่งนึกดู ขนมขบเคี้ยวประเภทแพงๆ ถุงละ 50 บาทเปลี่ยนมาเป็นอะไรที่ถูกลงได้หรือเปล่า ลูกชิ้นนี่ก็คือเศษไขมันและกระดูกป่นเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวจะอิ่มท้องกว่ามั้ง

จากเรื่องอาหารก็ไปเรื่องอื่นๆ เช่นเสื้อผ้ารองเท้า กระเป๋าที่ซื้อ จำเป็นไหมที่ต้องเป็นยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ เวลาไปกับเพื่อนเห็นเพื่อนซื้อโน่นซื้อนี่ เราจำเป็นต้องซื้อด้วยหรือเปล่า แค่ช่วยเลือกซื้อก็น่าจะพอแล้ว

ลดหนี้พลาสติกให้หมดโดยเร็ว ไม่มีธนาคารไหนที่คิดดอกเบี้ยคุณต่ำกว่า 18 % พยายามจ่ายให้ตรงเวลา เพราะค่าปรับบางทีมากกว่ายอดเงินคงค้าง บันทึกรายการลงสมุดทุกครั้งที่คุณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิด คุณจะได้ทราบว่าเดือนนี้คุณจ่ายไปแล้วเท่าไหร่ หนี้เก่าเท่าไหร่ แล้วเมื่อใดต้องจ่ายหนี้ หากคุณเป็นประเภทที่ชำระเต็มจำนวนทุกครั้ง พยายามปัดจำนวนขึ้น เพราะจ่ายขาดไป 1 สตางค์อาจหมายถึงต้องจ่ายค่าปรับ (เดบิตการ์ด เช่น AMEX) รหัสส่วนตัวของบัตร Credit ควรจะต่างกับบัตร ATM ของคุณเผื่อคุณหยิบผิด อย่าพยายามถอนเงินสดจากบัตร Credit เพราะค่าธรรมเนียมคือ 5 เปอร์เซ็นหรือขั้นต่ำ 150 บาท ถ้าคุณต้องถอนก็ถอนอย่างต่ำ 3000 บาทไปเลย (อัตราของแบ้งค์ทั่วไป) แล้วก็เอาไปเข้าบัญชีซะ แต่ดอกเบี้ยถูกๆ เวลานี้ยังไงก็ไม่คุ้ม

ลดเงินในกระเป๋าคุณ อันนี้คือข้อสำคัญที่ทำให้คุณเก็บเงินได้ สังเกตุไหมว่า slip เงินเดือนที่คุณได้รับในแต่ละเดือนนั้นถูกหักภาษี ประกันสังคม เงินกู้สหกรณ์ ฯลฯ แล้วทำไมคุณไม่หักเงินเก็บไว้เลย วิธีที่ดีที่สุดหากที่ทำงานของคุณมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข คุณก็ขอเพิ่มยอดเงินหากทำได้ นอกจากคนจะมีเงินเก็บมากขึ้นสำหรับบำนาญ หรือตอนออกจากงาน เงินของคุณก็จะเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าฝากแบ้งค์กินดอกเบี้ย อีกทั้งคุณยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบางบริษัทสบทบให้เท่ากับเงินที่คุณสมทบ พยายามสบทบยอดเงินให้สูงที่สุดที่ทางบริษัทยอม เพราะคุณไม่สามารถหาผลตอบแทนวิธีไหนที่สูงกว่านี้ได้อีกแล้ว การไม่เข้าร่วมกองทุนเหมือนกับการที่คุณไม่ยอมรับเงินที่บริษัทให้คุณฟรีๆ นั่นเอง

หากคุณจะทำอย่างข้างต้นไม่ได้วิธีสุดท้ายคือได้เงินเดือนมาปุ้บ คุณก็ถอนออกมาใส่บัญชีเงินเก็บต่างหากทันที แล้วคุณก็ใช้ชีวิตกับเงินที่เหลือเสมือนหนึ่งว่า ถูกนายจ้างหักเอาไว้ วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า Pay yourself first นั่นคือสมมุติให้ตัวคุณมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย เหมือนจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ยังไงก็ต้องจ่าย เงินที่จ่ายไปแล้วคุณไม่รับรู้ว่าไปไหน เพียงแต่รู้ว่าเข้าไปอยู่ในบัญชีหนึ่งเท่านั้น แล้วท่องไว้คำเดียวว่า ถอนไม่ได้

Leave a comment