วางเป้าหมาย สร้างแรงจูงใจ : การออม
การออมเงินจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
การเก็บเงินให้มากขึ้นจัดการหนี้ให้น้อยลง
การเก็บเงินให้มากขึ้น | การจัดการหนี้ให้น้อยลง |
---|---|
|
วางเป้าหมาย
การเก็บออมหรือประหยัดโดยไร้จุดมุ่งหมายนั่นคือเรื่องของคนขี้เหนียว แต่สำหรับเราๆ ท่านๆ การประหยัดควรจะต้องมีจุดมุ่งหมาย อาจจะเพื่อการพักผ่อนประจำปี รถคันใหม่ หรือแม้แต่ตู้เย็นเครื่องใหม่ (เพราะประหยัดไฟกว่า – จุดประสงค์ต่อเนื่อง)
การวางเป้าหมายคือหัวใจหลักในการจัดการเก็บออมของคุณ และเป็นเรื่องที่ยากที่สุด แต่ความผลที่เมื่อคุณทำสำเร็จนั้นยากที่จะประมาณค่าได้ ผลทั้งที่เห็นได้ตอนนั้นเมื่อคุณได้ในสิ่งที่ต้องการ และผมทางจิตใจที่จะนำคุณไปสู่เป้าหมายต่อไป และสู่ความร่ำรวยในที่สุด
คุณอาจจะวางเป้าหมายว่าในสหัสวรรษใหม่นี้คุณจะเก็บเงินไปเที่ยวเชียงใหม่ทุกๆ ฤดูหนาว ไปเที่ยวออสเตรเลียหรือประเทศอื่นๆ เป้าหมายไม่จำเป็นต้องมีอย่างเดียว คุณอาจจะมีเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะยาว เช่นอาจจะมีเป้าหมายว่าอีก 3 ปีจะซื้อรถคันใหม่พร้อมกันไปด้วย โดยอาจจะแยกใส่บัญชีกัน หรือถ้าบัญชีเดียวกันก็จดรายการไว้
การออมไม่ได้หมายถึงหักเงินรายได้ 5 เปอร์เซ็นต์ 10 เปอร์เซ็นต์ เก็บไว้อย่างไร้จุดมุ่งหมาย ถ้าคุณคิดว่าเงินมีไว้เก็บไม่ได้มีไว้ใช้จ่าย ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ทำไม อย่าประหยัดจนตัวมอมแมม ผอมโซ สุดท้ายเสียชีวิตไปเงินที่เก็บไว้เป็นล้านๆ คนอื่นก็เอาไปใช้หมด กลายเป็นว่าแทนที่การประหยัดจะให้ประโยชน์กลับให้โทษเสียอีก การรู้จักประหยัดรู้จักใช้ ก็คือการวางเป้าหมายนี่เอง แต่เป้าหมายไม่ใช่สิ่งที่ไม่จำเป็น เช่นเป้าหมายว่าจะซื้อมือถือรุ่นที่แพงที่สุด กระเป๋าราคาสองหมื่นขึ้น ถ้าเป้าหมายคุณเป็นแบบนี้ก็อย่าเก็บดีกว่า
การตั้งเป้าถือเป็นศิลปอย่างหนึ่ง คุณต้องตั้งใจจริง มองลึกลงไปในตัวคุณเองว่าต้องการอะไร ใฝ่ฝันถึงจุดใหน แล้วทำอย่างไรให้ไปสู่ความฝันนั้น ยอมรับว่ายาก แต่หากคุณเริ่มต้นได้ เป้าหมายมันก็จะเข้ามาเรื่อยๆ วันนี้คุณอาจจะตั้งเป้าว่าขอตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงินสด ไว้ให้ได้สัก 50,000 บาทภายในเวลา 4 ปี ไว้เป็นเงินเก็บเพื่อความอุ่นใจ คุณก็อาจจะเก็บไว้เดือนละ 1000 บาท ครบ 4 ปี รวมดอกเบี้ยได้ห้าหมื่นกว่าบาท ถ้าคุณมีเงินเหลือแต่ละเดือนมากกว่า 1000 บาท (หลังทำการวางแผนการเงินแล้ว) คุณก็ตั้งเป้าหมายคู่กันไปว่า จะเก็บเงินไว้ไปเที่ยวภูเก็ตสัก 15 วัน เป็นต้น
การวางวางแผนระยะยาวสำหรับเราๆ มันเป็นเรื่องยาก ความเคยชินทำให้เรารู้สึกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้นง่ายกว่าเยอะ ความคิดประเภทใช้ก่อนผ่อนทีหลังเลยมีให้พบเห็นทั่วไป นั่นคือเท่ากับว่าคนจ่ายเงินให้คนอื่นเขารวย ไม่ใช่คุณ แต่หากคุณตั้งใจเก็บเงินเองไว้ซื้อ ความภูมิใจมันต่างกันมากมายนัก
เมื่อคุณเริ่มปฏิบัติได้แล้ว ก็เริ่มหันไปดูคนรอบข้าง และสอนพวกเขาให้รู้จักการจัดการการเงินของตัวเอง คุณอาจจะถามว่าไปยุ่งเรื่องของคนอื่นทำไม ก็ขอบอกว่าเริ่มจากคนในครอบครัวคุณก่อน เมื่อพวกเขาทำได้ คำบ่นประเภทเงินไม่มี เงินไม่พอก็จะหมดไป สุขภาพจิดในครอบครัวก็ดีขึ้น ต่อมาคุณก็เริ่มนำความคิดนี่ไปสู่เพื่อนฝูง เพื่อนที่ทำงาน เพราะคุณจะเปลี่ยน LifeStyle ตัวเองไม่ได้ดีหากคนรอบข้างยังชวนคุณไปช้อปปิ้ง เดินห้างอยู่อีก บรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้น เพื่อนร่วมงานก็ไม่หน้าบึ้งเพราะปัญหาทางการเงิน คุณก็จะได้ไม่ต้องลำบากใจที่เวลาเพื่อนซี้มาขอยืมเงิน ครั้งก่อนก็ยังไม่อยากทวง มายืมอีกแล้วทำนองนี้ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการบอกว่ามี Web site เกี่ยวกับการจัดการเงินทองให้อ่าน ลองไปดูซิ แล้วก็กระตุ้นให้เพื่อนๆ ลองปฏิบัติตาม ก็แล้วแต่เค้า แต่เป็นการเริ่มต้นที่ดี
สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาในการวางเป้าหมายของคุณคือ
– คุณต้องการชีวิตครอบครัวแบบไหน มีลูกกี่คน ต้องเก็บเงินไว้มากน้อยแค่ไหน
– คุณต้องการอาศัยในที่อยู่แบบใหน condo townhouse หรือบ้านเดี๋ยว ชอบปลูกต้นไม้หรือไม่ ชอบอยู่ในแหล่งชุมชนหรือนอกเมือง
– อยากเรียนต่อหรือเปล่า เรียนต่อด้านไหน ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร เรียนอะไรที่คิดว่าจะทำให้ชีวิตคุณรุ่งเรือง
– พอใจกับอาชีพคุณหรือยัง จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน คุณถนัดเรื่องอะไร
– สถานะของคุณมั่นคงหรือไม่ ถ้าคุณตกงานจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าบริษัทย้าย office คุณจะทำอย่างไร
step 1การวางเป้าหมายคือหัวใจหลักในการจัดการเก็บออมของคุณ และเป็นเรื่องที่ยากที่สุด แต่ความผลที่เมื่อคุณทำสำเร็จนั้นยากที่จะประมาณค่าได้ ผลทั้งที่เห็นได้ตอนนั้นเมื่อคุณได้ในสิ่งที่ต้องการ และผมทางจิตใจที่จะนำคุณไปสู่เป้าหมายต่อไป และสู่ความร่ำรวยในที่สุด
คุณอาจจะวางเป้าหมายว่าในสหัสวรรษใหม่นี้คุณจะเก็บเงินไปเที่ยวเชียงใหม่ทุกๆ ฤดูหนาว ไปเที่ยวออสเตรเลียหรือประเทศอื่นๆ เป้าหมายไม่จำเป็นต้องมีอย่างเดียว คุณอาจจะมีเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะยาว เช่นอาจจะมีเป้าหมายว่าอีก 3 ปีจะซื้อรถคันใหม่พร้อมกันไปด้วย โดยอาจจะแยกใส่บัญชีกัน หรือถ้าบัญชีเดียวกันก็จดรายการไว้
การออมไม่ได้หมายถึงหักเงินรายได้ 5 เปอร์เซ็นต์ 10 เปอร์เซ็นต์ เก็บไว้อย่างไร้จุดมุ่งหมาย ถ้าคุณคิดว่าเงินมีไว้เก็บไม่ได้มีไว้ใช้จ่าย ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ทำไม อย่าประหยัดจนตัวมอมแมม ผอมโซ สุดท้ายเสียชีวิตไปเงินที่เก็บไว้เป็นล้านๆ คนอื่นก็เอาไปใช้หมด กลายเป็นว่าแทนที่การประหยัดจะให้ประโยชน์กลับให้โทษเสียอีก การรู้จักประหยัดรู้จักใช้ ก็คือการวางเป้าหมายนี่เอง แต่เป้าหมายไม่ใช่สิ่งที่ไม่จำเป็น เช่นเป้าหมายว่าจะซื้อมือถือรุ่นที่แพงที่สุด กระเป๋าราคาสองหมื่นขึ้น ถ้าเป้าหมายคุณเป็นแบบนี้ก็อย่าเก็บดีกว่า
การตั้งเป้าถือเป็นศิลปอย่างหนึ่ง คุณต้องตั้งใจจริง มองลึกลงไปในตัวคุณเองว่าต้องการอะไร ใฝ่ฝันถึงจุดใหน แล้วทำอย่างไรให้ไปสู่ความฝันนั้น ยอมรับว่ายาก แต่หากคุณเริ่มต้นได้ เป้าหมายมันก็จะเข้ามาเรื่อยๆ วันนี้คุณอาจจะตั้งเป้าว่าขอตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงินสด ไว้ให้ได้สัก 50,000 บาทภายในเวลา 4 ปี ไว้เป็นเงินเก็บเพื่อความอุ่นใจ คุณก็อาจจะเก็บไว้เดือนละ 1000 บาท ครบ 4 ปี รวมดอกเบี้ยได้ห้าหมื่นกว่าบาท ถ้าคุณมีเงินเหลือแต่ละเดือนมากกว่า 1000 บาท (หลังทำการวางแผนการเงินแล้ว) คุณก็ตั้งเป้าหมายคู่กันไปว่า จะเก็บเงินไว้ไปเที่ยวภูเก็ตสัก 15 วัน เป็นต้น
การวางวางแผนระยะยาวสำหรับเราๆ มันเป็นเรื่องยาก ความเคยชินทำให้เรารู้สึกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้นง่ายกว่าเยอะ ความคิดประเภทใช้ก่อนผ่อนทีหลังเลยมีให้พบเห็นทั่วไป นั่นคือเท่ากับว่าคนจ่ายเงินให้คนอื่นเขารวย ไม่ใช่คุณ แต่หากคุณตั้งใจเก็บเงินเองไว้ซื้อ ความภูมิใจมันต่างกันมากมายนัก
เมื่อคุณเริ่มปฏิบัติได้แล้ว ก็เริ่มหันไปดูคนรอบข้าง และสอนพวกเขาให้รู้จักการจัดการการเงินของตัวเอง คุณอาจจะถามว่าไปยุ่งเรื่องของคนอื่นทำไม ก็ขอบอกว่าเริ่มจากคนในครอบครัวคุณก่อน เมื่อพวกเขาทำได้ คำบ่นประเภทเงินไม่มี เงินไม่พอก็จะหมดไป สุขภาพจิดในครอบครัวก็ดีขึ้น ต่อมาคุณก็เริ่มนำความคิดนี่ไปสู่เพื่อนฝูง เพื่อนที่ทำงาน เพราะคุณจะเปลี่ยน LifeStyle ตัวเองไม่ได้ดีหากคนรอบข้างยังชวนคุณไปช้อปปิ้ง เดินห้างอยู่อีก บรรยากาศการทำงานก็จะดีขึ้น เพื่อนร่วมงานก็ไม่หน้าบึ้งเพราะปัญหาทางการเงิน คุณก็จะได้ไม่ต้องลำบากใจที่เวลาเพื่อนซี้มาขอยืมเงิน ครั้งก่อนก็ยังไม่อยากทวง มายืมอีกแล้วทำนองนี้ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการบอกว่ามี Web site เกี่ยวกับการจัดการเงินทองให้อ่าน ลองไปดูซิ แล้วก็กระตุ้นให้เพื่อนๆ ลองปฏิบัติตาม ก็แล้วแต่เค้า แต่เป็นการเริ่มต้นที่ดี
สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาในการวางเป้าหมายของคุณคือ
คุณต้องการชีวิตครอบครัวแบบไหน มีลูกกี่คน ต้องเก็บเงินไว้มากน้อยแค่ไหน
คุณต้องการอาศัยในที่อยู่แบบใหน condo townhouse หรือบ้านเดี๋ยว ชอบปลูกต้นไม้หรือไม่ ชอบอยู่ในแหล่งชุมชนหรือนอกเมือง
อยากเรียนต่อหรือเปล่า เรียนต่อด้านไหน ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร เรียนอะไรที่คิดว่าจะทำให้ชีวิตคุณรุ่งเรือง
พอใจกับอาชีพคุณหรือยัง จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน คุณถนัดเรื่องอะไร
สถานะของคุณมั่นคงหรือไม่ ถ้าคุณตกงานจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าบริษัทย้าย office คุณจะทำอย่างไร
เมื่อคุณได้พิจารณาเรื่องต่างๆ แล้วคุณก็จะทราบว่าอะไรเป็นเป้าหมายหลัก อะไรคือเป้าหมายรอง เป้าหมายอันไหนคือระยะยาว หรือระยะสั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณคิดฝัน และมุ่งหมายที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่คุณดีขึ้น คุณก็จะทำการเก็บออมโดยมีสิ่งเหล่านี้เป็นตัวหักห้ามใจเวลาคุณต้องการจะซื้ออะไรที่ฟุ่มเฟือย
เมื่อคุณมีเป้าแล้ว ขั้นต่อมาคุณก็ต้องสร้างความรู้สึกร่วมกับเป้าหมายอันนั้น เพื่อช่วยในการควบคุมตัวเอง เช่นตั้งเป้าว่าจะเก็บเงินไปเที่ยวเชียงไหม่ คุณก็ไปหาโบร์ชัวร์ มาวางไว้ไกล้ที่ทำงาน หาภาพมาติดไว้บนฝาผนัง ว่างๆก็อ่านเรื่องราวว่าคุณจะไปเที่ยวบริเวณไหนบ้าง ทำอะไรบ้าง สิ่งนี้จะทำให้คุณลดความรู้สึกอยากซื้ออย่างอื่นไปมาก และมันทำให้รู้สึกว่าการประหยัดนั้นวิเศษสุด คุณกำลังจะได้ในสิ่งที่คุณต้องการ การได้เห็นในสิ่งที่คุณต้องการเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญยิ่ง อยากได้รถคันใหม่ก็หาภาพมาติดไว้ให้เต็มบ้านไปเลย แต่อย่าลืมว่าเป้าหมายของคุณต้องเป็นไปได้ ไม่ใช่อยากได้รถเบนส์ แต่จากรายได้คำนวณแล้วต้องเก็บเงินอีกประมาณ 40 ปี เป็นต้น คุณก็จะรู้สึกท้อถอยอย่างรวดเร็วเพราะใช้เวลานานเกินไป
เริ่มต้นปฏิบัติ แน่นอนว่าฝันไปเถอะถ้าคุณไม่คิดจะเริ่มและทำตามแผนของคุณ คิดคำนวณดูว่าแต่ละเป้าหมายต้องใช้เวลานานแค่ไหน ต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ ไปเที่ยวต่างประเทศอาจจะภายใน 2 ปี ชื้อรถใหม่ อาจจะภายใน 5 ปี ย้ายบ้านภายใน 10 ปี สำหรับลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยภายใน 20 ปีเป็นต้น
เมื่อได้เป้าหมายและตัวเลขแล้วก็มาคิดว่าจะเก็บเงินไว้ที่ไหนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด และสะดวกในการนำมาใช้เมื่อเวลามาถึง รวมทั้งความเสี่ยงที่เงินจะสูญหายด้วย การออมระยะยาวอาจจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพราะมั่นคงกว่าและให้ผลตอบแทนสูง การออมเพื่อการท่องเที่ยวอาจจะใส่บัญชีฝากประจำ เป็นต้น
ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ
เริ่มปฏิวัติตัวเองสู่เป้าหมายและความฝันของคุณ
ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการติดตามรายการทางการเงินของคุณ เช่น Microsoft Money เป็นต้น แต่หากคุณไม่อยากเสียเงินซื้อก็ใช้ Exel ในที่ทำงานของคุณนั่นแหละ คุณอาจจะเขียนสูตรต่างๆขึ้นเองก็ได้ หรือจะ DownLoad จากเว็บไซ้ท์นี้ก็ได้ หรือถ้าไม่ชอบใช้คอมพิวเตอร์ก็ให้หาสมุดมา 1 เล่ม แล้วจัดการทำรายรับรายจ่ายเหมือนทำบัญชีอย่างง่ายๆ แล้วก็กดเครื่องคิดเลยเอา (ผู้เขียนใช้วิธีนี้ เพราะพกไปมาสะดวก – ใช้ Exel เวลาคำนวนดอกเบี้ยเท่านั้น)
ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์หรือกระดาษธรรมดาคุณก็ต้องทำ เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมค่าใช้จ่ายของตัวคุณเอง คุณไม่สามารถจำตัวเลขเงินๆ ทองๆ ได้หมดหรอก ยิ่งตัวเลขของเดือนก่อนๆ ก็ยิ่งแล้วใหญ่ การทำบัญชี ทำ budget จะช่วยให้คุณทราบว่ารายจ่ายคุณมีอะไรบ้าง แต่ละเดือนคุณหมดไปกับอะไรบ้าง อันไหนที่สามารถลดลงได้โดยไม่เดือดร้อนมากนัก เดือนไหนจ่ายค่าอะไรผิดปกติหรือเปล่าเป็นต้น เมื่อคุณมีเป้าหมายของคุณเขียนไว้ คุณก็จะทราบว่าพอเก็บหรือไม่ เก็บเดือนละเท่าไหร ต้องลดค่าใช้จ่ายอะไรลงแค่ไหน เช่นจะซื้อรถใหม่สักคันภายใน 3 ปีต้องเก็บเดือนละเท่าไหร่ หากเงินไม่พอก็ต้องลดค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หากยังไม่ได้อีกก็ต้องยืดระยะเวลาออกไป แล้วนานแค่ไหนหละ
ปรับเปลี่ยนบัตรเครดิตที่คุณใช้อยู่ หากหาที่ดอกเบี้ยถูกกว่าได้ หรือไม่ก็ใช้ให้น้อยลงหรือเลิกใช้ไปเลย เพราะการมี Credit Card ทำให้คุณยืมเงินได้ง่าย คุณนำรายได้ในอนาคตมาใช้ รายได้ในอนาคตก็น้อยลง คุณก็จะไม่มีเงินให้เก็บ ตั้งเป้าแล้วสะสมเงินจะดีกว่ามาก แต่บางครั้งการใช้บัตรที่ฉลาดๆ ก็ช่วยคุณได้มาก การกะจังหวะเวลาที่เหมาะสม ทำให้คุณไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสักบาท แถมเงินในแบ้งค์ยังได้ดอกเบี้ย และไหนจะได้ของที่คุณต้องการก่อนกำหนดอีก แต่คุณควบคุมตัวเองได้หรือเปล่าเท่านั้น
เตรียมตัวกับเรื่องไม่คาดฝันไว้ด้วย นั่นคือคุณอาจจะตั้งเป้าไว้เป็นกรณีแรกเลย ว่าต้องเก็บเงินไว้เผื่อตกงาน หรือเงินเดือนลด เพราะจะให้อะไรแน่นอนก็คงไม่ได้
ตั้งเป้าหมายแล้วทำให้ได้ตามเป้า การไม่ตั้งเป้าไว้จะทำให้คุณไม่มีแรงจูงใจในการเก็บเงิน หัวข้อวางเป้าหมายที่คุ้มค่าอธิบายไว้แล้วว่าคุณจะทำอย่างไร
มองหาแหล่งพักเงินที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผลตอบแทนที่สูงมักจะหมายถึงความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย หากคุณไม่กล้าเล่นหุ้นแต่อยากเล่นก็ลอง กองทุนรวม ที่มีอยู่ทั่วไปตามความต้องการของคุณ
ประกันชีวิต สิ่งที่หลายคนอาจจะคิดว่าเหมาะเฉพาะคนรวยเท่านั้น แต่ความจริงคนที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรควรจะม ีเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นวันไหนก็ได้ อย่าประกันตนให้เกินตัว เพราะอาจจะไม่คุ้มค่า การประกันตนแบบสะสมทรัพย์ก็อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณมีเงินออมระยะยาวอีกวิธีหนึ่ง
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.